“ได้เสนอให้มีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เริ่มจากกรุงเทพมหานคร ท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สามารถจัดพร้อมกันได้ ขณะที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเมืองพัทยา เป็นอีกกลุ่ม ที่อาจจะจัดพร้อมกันได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเลือกพร้อมกัน สำหรับประเด็นควรเลือกตั้งประเภทใดก่อน ยืนยันว่า อปท.ทุกประเภทสามารถจัดเลือกตั้งทันที โดยเทียบให้เห็นกรณีหมดวาระตามปกติ มีเวลาเพียง 45 วัน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมความพร้อมได้ทัน แต่ที่ผ่านมา ได้เตรียมความพร้อมนานกว่า 8 ปี” นายบรรณ กล่าว

นายบรรณ กล่าวว่า ที่ประชุมสอบถามว่า จะมีอุปสรรคเรื่องงบประมาณหรือไม่ และจะต้องรองบประมาณ ปี 2564 หรือไม่ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้งบประมาณปี 2563 จัดเลือกตั้งได้ทันที จากนั้นมีการตั้งข้อสังเกตถึงความจำเป็นเร่งด่วนต่อประชาชน โดยยกตัวอย่างกรณีโควิด-19 จะเลือกตั้งประเภทใดก่อน ได้เสนอความเห็นว่า ระดับที่ใกล้ชิดกับประชาชน คือ อบต.กับเทศบาล จำเป็นเร่งด่วนกว่า อบจ. โดยทำให้ประชาชนยอมรับในตัวผู้บริหารและสมาชิกที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้ง มีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือกับการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา แต่โดยทางปฏิบัติจะต้องรัฐบาลควรจัดสรรงบมาให้ อปท.โดยตรง และปรับแก้ระเบียบปฏิบัติให้ชัดเจน

“สำหรับการเมืองระดับชาติ ครั้งนี้ชัดเจนว่าการเลือกตั้ง อบจ.จะมีผู้สมัครในนามพรรคการเมืองมากกว่าการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งที่ผ่านมา และเมื่อมีการแข่งขันการหาเสียง ก็จะต้องพาดพิงถึงนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะกระทบต่อระดับการเมืองระดับชาติอย่างแน่นอน และหากไม่สนใจจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเว้นช่วงมาหลายปี จะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่น โดยการพิจารณาจัดการเลือกตั้งจะต้องคำนึงถึงประชาชน ไม่ใช่คำนึงถึงความพร้อมในการสรรหาผู้สมัครของพรรครัฐบาลมาลงสมัครในการเลือกตั้งท้องถิ่น” นายบรรณ กล่าว

 

 

ที่มา : สยามรัฐ

928 Views