ไอเอ็มเอฟเตือนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อาจจำเป็นต้องเตรียมมาตรการเพื่อรับมือ กับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด

นักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟเตือนด้วยว่า ประเทศที่มีหนี้สินมาก อาจจะต้องขยายเวลาการชำระหนี้ที่ครบกำหนด และอาจต้องเริ่มใช้มาตรการทางการคลังให้เร็วขึ้น

แต่ตอนนี้ความรู้สึกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ราคาสินค้ากำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 40 ปี และตลาดแรงงานตึงตัวได้เริ่มทำให้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง

เชื้อกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นต่อเงินเฟ้อที่มาจากแรงกดดันด้านอุปทาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่าการเกิดขึ้นของเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เฟดตัดสินใจเร่งลดการซื้อทรัพย์สินลง

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เฟดอาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน มี.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้หลายเดือน

ผู้เขียนบล็อกนี้ได้แก่ คือ สตีเฟน แดนนิงเกอร์ หัวหน้าแผนกนโยบายจุลภาค ฝ่ายตรวจสอบ นโยบาย และยุทธศาสตร์, เคนเนธ คัง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบ นโยบาย และการดูแล และเอเลน ปัวร์ซอง รองหัวหน้าแผนกนโยบายจุลภาค ฝ่ายตรวจสอบ นโยบาย และยุทธศาสตร์

นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสามระบุว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้อนาคตของประเทศตลาดเกิดใหม่ มีความไม่แน่นอนมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ก็กำลังเผชิญกับเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้นด้วย หนี้รัฐบาลโดยเฉลี่ยในประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 10% นับตั้งแต่ปี 2019 คาดว่าจะเพิ่มถึงระดับ 64% ของจีดีพีภายในสิ้นปี 2021 แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของประเทศเหล่านี้มีความแข็งแกร่งน้อยกว่าสหรัฐฯ แม้ว่าต้นทุนในการกู้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงต่ำสำหรับหลายประเทศ แต่ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อในประเทศและเงินทุนจากต่างประเทศที่ไม่เพิ่มขึ้น ได้ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่หลายประเทศรวมถึง บราซิล รัสเซีย และแอฟริกาใต้ ได้เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีที่แล้ว

ความเสี่ยงใหม่ในการฟื้นตัว

นักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟระบุในบล็อกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ เงินเฟ้อน่าจะอยู่ในระดับปานกลาง เพราะว่า ปัญหาอุปทานจะผ่อนคลายลง และการคลังแบบหดตัวจะขึ้นอยู่กับด้านอุปสงค์ การที่เฟดออกระบุว่า จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ไม่ได้ทำให้มุมมองทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ถ้ามีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางตามที่คาดไว้

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ไม่น่าจะรุนแรง ถ้ามีการค่อย ๆ ลดค่าใช้จ่าย, มีการสื่อสารอย่างชัดเจน และรับมือกับการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่อาจจะยังคงอ่อนค่าลง แต่อุปสงค์จากต่างประเทศจะชดเชยผลกระทบที่เกิดจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

คนเดินทางกลับจากต่างจังหวัดหลังปีใหม่ ที่มาของภาพ,EPA

บล็อกของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า เงินเฟ้อจากค่าจ้าง หรือปัญหาการติดขัดด้านอุปทานที่เกิดขึ้นต่อไป อาจจะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้ และเงินเฟ้ออาจจะเกิดขึ้นเร็วมากขึ้น การที่เฟดปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นให้เร็วขึ้นกว่าเดิมเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ อาจจะสร้างความกังวลต่อตลาดการเงินและทำให้มีการเพิ่มความเข้มงวดทางการเงินเกิดขึ้นทั่วโลก เหตุการณ์เหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกับความต้องการและการค้าที่ลดลงของสหรัฐฯ และอาจจะทำให้เกิดกระแสเงินไหลออกและการอ่อนค่าของสกุลเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ได้

ผลกระทบของการเพิ่มความเข้มงวดของเฟดในสถานการณ์เช่นนั้น อาจจะส่งผลเสียหายรุนแรงมากกว่าสำหรับประเทศที่อ่อนแอ ในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่หลายแห่งที่มีหนี้สาธารณะและหนี้ภาคเอกชนสูง มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลง ได้เริ่มเห็นการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในประเทศตัวเองที่เกี่ยวข้องกับดอลลาร์สหรัฐแล้ว

1,644 Views