ชายอเมริกันวัย 57 ปี ที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจจากหมูเมื่อต้น ม.ค. ปีนี้ เสียชีวิตลงแล้ว

คณะแพทย์ที่ดูแลนายเดวิด เบนเน็ต คนไข้ชายวัย 57 ปีที่ป่วยเป็นโรคหัวใจระยะสุดท้าย ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐฯ แถลงว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 8 มี.ค. หลังสภาพร่างกายแย่ลงในรอบหลายวันที่ผ่านมา

นายเบนเน็ตเข้ารับการผ่าตัดเมื่อ 7 ม.ค. ระหว่างการพักฟื้นในโรงพยาบาล เขาได้มีโอกาสชมการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ เมื่อ 13 ก.พ. และหวังว่าจะได้มีโอกาสกลับบ้านไปเจอกับเจ้าลัคกี้ หมาตัวโปรด

ความสำเร็จของคณะแพทย์สหรัฐฯ ในการผ่าตัดใส่หัวใจหมูให้ชายวัย 57 ปี คือความพยายามครั้งล่าสุดของมนุษย์ในการปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์ให้คน

คณะแพทย์โรงพยาบาลแมริแลนด์ ในเมืองบัลติมอร์แถลงเมื่อ 10 ม.ค. ว่า ใช้เวลา 7 ชั่วโมงในการปลูกถ่ายหัวใจหมูให้นายเบนเน็ต หลังการผ่าตัดผ่านไป 3 วัน คนไข้ชายวัย 57 ปี ยังมีอาการปกติ

นายเบนเน็ตนับเป็นมนุษย์รายแรกของโลกที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจจากหมูที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม อย่างไรก็ดีขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการปลูกถ่ายอวัยวะข้ามสายพันธุ์ดังกล่าวจะมีผลอย่างไร แต่ถือเป็นก้าวแรกของการทดลองที่เคยกล่าวกันมาหลายสิบปีว่า ในวันหนึ่งข้างหน้า มนุษย์อาจสามารถใช้อวัยวะของสัตว์มาช่วยต่อชีวิตคนได้

 

surgeons performing the surgery

ที่มาของภาพ,UNIVERSITY OF MARYLAND SCHOOL OF MEDICINE

ตาย หรือ เสี่ยง

ทีมแพทย์จากศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ระบุว่า การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหัวใจซึ่งมาจากสัตว์ที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรม สามารถทำงานในร่างกายมนุษย์ได้โดยปราศจากการต่อต้านในทันที

นายเบนเน็ตเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย และไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการปลูกถ่ายหัวใจมนุษย์ เขาจึงเลือกเข้าสู่การทดลองนี้และตระหนักดีว่ากระบวนการนี้อาจไม่ประสบผลสำเร็จ

“ผมมีแค่ 2 ทางเลือก คือ ตาย หรือเข้าร่วมการปลูกถ่ายอวัยวะครั้งนี้ ผมอยากจะมีชีวิตอยู่ ผมรู้ว่ามันอาจเป็นฝัน ลม ๆ แล้ง ๆ แต่มันก็เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผมมี” เขากล่าวในวันก่อนเข้ารับการผ่าตัด

นายเบนเน็ตขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการปลูกถ่ายหัวใจมนุษย์ เนื่องจากคณะแพทย์เห็นว่าสุขภาพของเขาย่ำแย่เกินกว่าการเข้าสู่กระบวนการ เขาป่วยติดเตียงถึง 6 สัปดาห์และต้องใช้เครื่องช่วยชีวิตตลอดเวลาก่อนการผ่าตัด

“ตอนนี้ผมหวังว่าจะดีขึ้นแล้วลุกจากเตียงได้”

ทีมแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ระบุว่า การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหัวใจซึ่งมาจากสัตว์ที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรม สามารถทำงานในร่างกายมนุษย์ได้โดยปราศจากการต่อต้านในทันที หลังจากที่ยีนหลายชนิดที่ร่างกายมนุษย์อาจต่อต้านถูกกำจัดไป

ศัลยแพทย์ บาร์ตลีย์ พี กริฟฟิธ กล่าวในเอกสารเผยแพร่ว่า การผ่าตัดครั้งนี้เป็น “อีกก้าวหนึ่งของการแก้วิกฤตขาดแคลนอวัยวะ” ในสหรัฐฯ ที่พบว่ามีผู้รอรับบริจาคอวัยวะอยู่กว่า 100,000 คน และทุกวัน มีผู้เสียชีวิตลง 17 คน ขณะรอรับบริจาค

การปลูกถ่ายอวัยวะหมูสู่คนไม่ใช่แนวคิดใหม่ เพราะมีการใช้ลิ้นหัวใจหมูในมนุษย์อย่างแพร่หลาย และอวัยวะของพวกมันก็มีขนาดที่พอเหมาะพอดีกับร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว

873 Views