ในการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ หรือ midterm election ที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนเป็นการเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศ ระดับรัฐ และระดับท้องถิ่น ซึ่งหนึ่งในผู้ลงสนามเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ทีนา มหาราธ (Tina Maharath) สมาชิกวุฒิสภาท้องถิ่นเชื้อสายลาวในรัฐโอไฮโอ ที่เมื่อสี่ปีก่อน เธอได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นผู้หญิงเอเชียนอเมริกันคนแรกที่ได้เป็น ส.ว.ท้องถิ่นของรัฐ และหวังว่าจะคว้าชัยชนะมาได้อีกสมัยหนึ่งในการเลือกตั้งในสัปดาห์หน้า ติดตามได้จากรายงานพิเศษของวีโอเอไทย จากเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ

“ขอโทษที่มารบกวนค่ะ ดิฉันเป็น ส.ว.ท้องถิ่นในพื้นที่ของคุณ ฉันแวะมาเพื่อจะบอกว่าฉันลงเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งนะคะ ดิฉันชื่อ ทีนา มหาราธค่ะ”

ทีนา มหาราธ (Tina Maharath) สมาชิกวุฒิสภาท้องถิ่นรัฐโอไฮโอ (Ohio) ใช้เวลาทุกเสาร์และอาทิตย์เดินเคาะประตูบ้านในย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองโคลัมบัส (Columbus) ซึ่งเป็นพื้นที่เลือกตั้งเขต 3 ในความรับผิดชอบ เพื่อพบปะผู้มีสิทธิใช้เสียงและขอให้พวกเขาลงคะแนนเลือกให้เธอเป็น ส.ว.ท้องถิ่นอีกหนึ่งสมัย ในวันเลือกตั้งกลางเทอม ที่ 8 พฤศจิกายนนี้

ย้อนกลับไปเมื่อสี่ปีก่อน ทีนา มหาราธ สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นผู้หญิงเชื้อสายลาวคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในสหรัฐฯ และยังเป็นผู้หญิงอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ว.ท้องถิ่น (state senator) ของรัฐโอไฮโอ

ในวันนั้น หญิงสาววัย 28 ปี ที่ไร้ประสบการณ์ทางการเมือง เอาชนะคู่แข่งพรรครีพับลิกันไปอย่างฉิวเฉียดและถือเป็นครั้งแรกที่ตัวแทนพรรคเดโมแครตแย่งชิงที่นั่งมาจากพรรครีพับลิกันที่ครองตำแหน่งมานาน 12 ปี

“ในตอนนั้น ฉันรู้สึกว่าฉันทำตามความฝันของอเมริกันชน (American dream) ได้สำเร็จแล้ว” เธอกล่าวกับวีโอเอไทย สองสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง “ฉันได้เดินตามฝันของเด็กหญิงคนหนึ่งที่มาจากครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น ที่ในที่สุดได้เป็น ส.ว.ท้องถิ่นของรัฐ”

Ohio's state senator Tina Maharath (D-Columbus) met with a group of Somani community members during her campaign ahead of the November 2022 midterm election.
Ohio’s state senator Tina Maharath (D-Columbus) met with a group of Somani community members during her campaign ahead of the November 2022 midterm election.

พ่อแม่ของทีนาเป็นผู้ลี้ภัยชาวลาวที่อพยพมาอยู่ชานเมืองรัฐโอไฮโอในปี ค.ศ.1990 ก่อนที่ในปีเดียวกันนั้น ทีนาจะเป็นสมาชิกครอบครัวคนแรกที่ถือกำเนิดในสหรัฐฯ

เมื่ออายุได้ 14 ปี แม่ของเธอและพี่ชายอีกสองคนประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิต ทีนาและน้องสาวอาศัยอยู่กับพ่อระยะหนึ่ง ก่อนที่สองพี่น้องจะถูกจับแยก และส่งไปอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ หรือ foster home ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ครั้งนั้น ทำให้เธอต้องต่อสู้กับอาการผิดปกติทางจิตใจหลังประสบสถานการณ์รุนแรง หรือ PTSD (Post-traumatic stress disorder) เป็นเวลาหลายปี

ส.ว. หญิงเชื้อสายลาวเล่าว่า เธอพยายามใช้ชีวิตตามความคาดหวังของครอบครัว คือเรียนจบมหาวิทยาลัย หางานทำในบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา และสร้างครอบครัว แต่การเป็นอาสาสมัคร การคลุกคลีในชุมชนจนเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยและผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย ทำให้เธอค้นพบว่าเธอชอบทำงานบริการสาธารณะและการทำงานของรัฐบาล นั่นจึงทำให้อดีตพนักงานบริษัทที่ทำงานด้านการวิเคราะห์กำลังคน (workforce analyst) ตัดสินใจศึกษา ลงเรียนคอร์สต่าง ๆ และวางแผนล่วงหน้า 4 ปี เพื่อลงเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นโดยเฉพาะ

“ฉันมีความมั่นใจมากเลยว่าฉันจะต้องชนะ เพราะฉันมีแผนหาเสียงเลือกตั้งเตรียมไว้หมดแล้ว รู้ว่าต้องไปเดินเคาะกี่ประตูบ้านเพื่อหาเสียง รู้ว่าต้องระดมเงินให้ได้เท่าไหร่ และจะหาเงินมาได้ยังไง รู้ว่าต้องไปชุมชนหรือหมู่บ้านไหนบ้าง รู้ว่าต้องคุยกับใคร ต้องทำยังไงเพื่อให้ได้การสนับสนุน”

Ohio's state senator Tina Maharath, the first Asian-American woman elected to the Ohio Senate, posed with her Thai aunt, Phasuree Channakhon.
Ohio’s state senator Tina Maharath, the first Asian-American woman elected to the Ohio Senate, posed with her Thai aunt, Phasuree Channakhon.

เพื่อนและผู้ใกล้ชิดบางคนแสดงเป็นห่วงการตัดสินใจของทีนา เช่นเดียวกับ ภาสุรีย์ จันนคร หญิงไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในโคลัมบัส และมีศักดิ์เป็นป้าของว่าที่ ส.ว. ผู้นี้

อ่านต่อ VOAThai

267 Views