[responsivevoice voice=”Thai Male” buttontext=”ฟังข่าว 3 นาที”]
เว็บไซต์ข่าวสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น รายงานถึงสถานการณ์ชุมนุมประท้วงหลัง พลอ.ประยุทธ์ ลงนามในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ว่า “นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษของกลุ่มชนชั้นนำ โดยเด็กรุ่นใหม่พูดอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะเรื่องพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเคยเป็นเรื่องต้องห้ามมาอย่างยาวนาน”

โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบีบีซี วิเคราะห์ว่า รัฐไม่สามารถทนการชุมนุมขนาดใหญ่ที่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ได้นาน โดยเฉพาะตอนนี้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จกลับมาและจะทรงประทับในไทยไปอีกสักพักหนึ่ง

“การเคลื่อนไหวต่อไปจะเป็นไปด้วยความยากลำบากเมื่อแกนนำของพวกเขาถูกคุมขังอยู่นอกกรุงเทพฯ และมีคำสั่งห้ามชุมนุม ทางการอาจจะตามจัดการกับพวกที่เชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับการชุมนุม”

เฮด บอกอีกว่า แต่สิ่งที่ผู้คนพูดออกไปแล้วเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่สามารถย้อนกลับไปได้แล้ว เรื่องต้องห้ามไม่ใช่เรื่องต้องห้ามอีกต่อไป และนอกจากฝ่ายผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสุดโต่งแล้ว คนทุกวัยและจากทุกที่ในประเทศต่างก็เห็นด้วยกับแกนนำนักศึกษาแล้วว่าสมเหตุสมผลที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะเป็นส่วนหนึ่งหากจะมีการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทย

Anti-government protest in Bangkok
ด้าน นสพ.วอชิงตันโพสต์ บอกว่า ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเช้ามืดวันที่ 15 ตค. เป็นสัญญาณแรกของความพยายามที่จะทำลายการเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ วอชิงตันโพสต์ กล่าวถึงกรณีการแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านขบวนเสด็จของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติ เมื่อวันที่ 14 ตค. ว่า ไม่กี่เดือนก่อน การแสดงออกในเชิงลบแบบตรงไปตรงมาแทบจะเป็นเรื่องที่ “ไม่สามารถคิดฝันได้เลย” แต่ได้กลายเป็นเรื่องที่พูดกันตรงไปตรงมามากขึ้นเมื่อการชุมนุมมีพลังมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ประท้วงถือป้ายและโปสเตอร์ที่ล้อเลียนพระมหากษัตริย์
จีน
นสพ.เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษ รายงานว่า มีการคาดเดาว่า ที่อยู่ดี ๆ รัฐบาลก็แสดงให้เห็นถึงกำลังเจ้าหน้าที่อาจเชื่อมโยงกับการมาเยือนของนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทวงต่างประเทศจีน ที่ทำเนียบรัฐบาล เดอะเทเลกราฟบอกว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมุ่งเป้าไปที่ผู้นำชุมนุมทำให้นึกถึงยุทธศาสตร์ที่ทางการจีนและฮ่องกงใช้ในการปราบปรามผู้เห็นต่างในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง
[/responsivevoice]

ที่มา : bbc news thai

854 Views