ซีเอ็นเอ็น รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติปริศนาของ ทะเลสาบโลนาร์ อายุเก่าแก่ 50,000 ปี ในรัฐมหาราษฎระ ทางตะวันตกของอินเดีย ที่เพิ่งเปลี่ยนเป็นสีชมพูเมื่อไม่นานนี้ กลายเป็นคำถามคาใจของคนทั่วประเทศ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเองยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

(ก่อนและหลัง) เปลี่ยนเป็นสีชมพูของทะเลสาบโลนาร์ / Ladun Liadi

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดที่จะขึ้นน่าจะเป็นไปได้ 2 ทาง คือ ในน้ำทะเลสาบมีความเค็มเพิ่มขึ้น หรือมีสาหร่ายแดง หรือมีทั้งสองอย่าง เหมือน ทะเลสาบเกรตซอล์ตเลก (Great Salt lake) ของรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา หรือ ทะเลสาบฮิลเลียร์ (Lake Hillier) ในออสเตรเลีย

คชานันต์ ขารัต (Gajanan Kharat) นักธรณีวิทยาของอินเดีย อธิบายในวิดีโอที่โพสต์ทางทวิตเตอร์ของ การท่องเที่ยวรัฐมหาราษฎระ ว่าปรากฏการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่ไม่ได้โดดเด่น ส่วนในปีนี้น้ำทะเลสาบดูแดงพิเศษเพราะว่า

ทะเลสาบเกรตซอล์ตเลก / Storyful

“ความเค็มของน้ำทะเลสาบเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำในทะเลสาบลดลง และทะเลสาบเริ่มตื้นขึ้น ความเค็มจึงเพิ่มขึ้นและเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในทะเลสาบผืนนี้”

ทะเลสาบฮิลเลียร์

คณะนักวิจัยกำลังตรวจสอบด้วยว่า ทะเลสาบเปลี่ยนเป็นสีชมพูเพราะมีสาหร่ายแดงหรือไม่ โดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเลสาบและส่งไปห้องปฏิบัติการหลายแห่ง เมื่อศึกษาแล้วจะสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าทำไมน้ำทะเลสาบกลายเป็นสีแดง

ทะเลสาบโลนาร์ตั้งอยู่ห่างจากนครมุมไบออกไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร ก่อตัวจากอุกกาบาตที่ตกสู่พื้นโลกและเป็นหลุมขนาดใหญ่เมื่อสัก 50,000 ปีก่อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม และแหล่งการศึกษาของบรรดานักวิทยาศาสตร์

 

 

 

ที่มา : ข่าวสด

804 Views