เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่พรรคเพื่อไทย ได้มีการติวเข้มผู้อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2564 โดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคพท. กล่าวว่า ขอบคุณทุกท่านที่ได้ทำการบ้านอย่างหนักมาตลอดที่ได้รับเล่ม โดยงบประมาณปี 2564 นั้น มีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบ และตัดงบประมาณ เพราะหลังวิกฤติโควิดจบลง ปัญหาหนักของประเทศไทยที่จะเป็นมรสุม คือ เศรษฐกิจ ที่จะทรุดหนัก และสาหัสมาก ดังนั้น ทุกเม็ดเงินที่จะลงไปต้องตอบโจทย์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ งบประมาณปี 64 เรามองว่าจะเป็นงบฯที่มีปัญหาหนัก เพราะเป็นการจัดงบฯที่เรารู้สึกว่ารัฐบาลยังไม่ได้รู้สึกว่ากำลังจะเจอสึนามิทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วง ยังจัดงบฯอย่างปกติ ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะรองรับวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น
และ 5.ยังไม่เห็นการจัดงบฯที่จะเสริมสร้างการแข่งขันของประเทศ ที่ผ่านมารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้ ยิ่งจัด งบฯยิ่งเพิ่ม ตั้งแต่เงินกู้ งบฯ 63 มางบฯ 64 รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จะเป็นรัฐบาลที่มีเงินใช้มากที่สุดตั้งแต่ตั้งประเทศไทยมา นี่คือสิ่งที่ประชาชนต้องจับตาดูว่างบฯจำนวนมากเหล่านี้จะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้อย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการจัดงบฯที่ส่อทุจริต ซ่อนเงื่อน ซึ่งเราจะมีส.ส.ที่เตรียมอภิปรายในประเด็นนี้ด้วย
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรรพท. กล่าวว่า เมื่อเห็นเอกสารงบประมาณปี 64 ตนไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องปล่อยให้มีการเขียนงบประมาณออกมาเช่นนี้ได้อย่างไร ตนอยากเรียนขอร้อง ชวนให้พวกท่านไม่รับหลักการ และหากผู้อภิกรายจะกรูณาวิงวอนขอร้องส.ส.ของซีกรัฐบาลให้ร่วมไม่รับหลักการด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง ตนมองว่า สิ่งที่เรากำลังพิจาณรากันอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะเป็นการจัดทำงบประมาณที่ตั้งอยู่บนความประมาทเป็นอย่างยิ่ง และอาจจะนำประเทศไปสู้ภาวะล้มละลายทางการคลังทั้งระยะสั้น และระยะยาว
ดังนั้น เป็นไปได้ไหมที่เราจะพิจารณางบฯเหมือนนี่เป็นฟางเส้นสุดท้ายของประเทศ เพราะเรามีรายจำประจำที่รออยู่ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตที่หลักเลี่ยงไม่ได้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การจัดงบฯรายจ่ายประจำที่ไม่ใช่รายจ่ายประจำที่แท้จริงอยู่ในงบฯอย่างมากมาย เป็นการสร้างภาระ และลดความพร้อมในการสามารถกู้เงินเพื่อชดเชยงบฯขาดดุลในอนาคตได้ ดังนั้น ตนขอให้ท่านได้โปรดพิจารณารายละเอียดในเอกสาร ทั้งนี้ เรายังเสนอว่าควรจัดงบประมาณขาดดุล แต่ปริมาณที่ขาดดุลควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถควบคุมได้ และควรเผื่อไว้สำหรับปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น
ที่มา : สยามรัฐ